Glass Oven G-300 (เครื่องอบแห้งและกลั่นแยกแบบลำดับส่วน)
โซลูชันที่หลากหลายสำหรับตัวอย่างปริมาณน้อย
พบกับ Glass Oven G-300 (เครื่องอบแห้งและกลั่นแยกแบบลำดับส่วน) ซึ่งเป็นเครื่องมือแบบครบวงจรสำหรับตัวอย่างปริมาณน้อยของ BUCHI ด้วยอุปกรณ์เสริมที่สามารถสลับสับเปลี่ยนกันได้ Glass Oven G-300 (เครื่องอบแห้งและกลั่นแยกแบบลำดับส่วน) สามารถทำการกลั่น ทำแห้ง ระเหิด และทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่หลาย ๆ ชิ้น ด้วยขนาดที่กะทัดรัดยังทำให้สามารถใส่เครื่องไว้ในตู้ทดลองแบบสวมถุงมือ (glovebox) ได้เพื่อรับประกันความปลอดภัยในการจัดการตัวอย่างที่ไวต่ออากาศ
จุดเด่น
- ทำการกลั่นแยกตัวอย่างที่เป็นของเหลวปริมาตรน้อยอย่างง่ายและแบบลำดับส่วนได้ โดยใช้วิธีการกลั่นจากกระเปาะหนึ่งไปยังอีกกระเปาะหนึ่งเพื่อนำไอไปควบแน่นนอกเครื่องอบแห้ง สามารถเพิ่มจำนวนกระเปาะได้สูงสุดถึง 4 อันเพื่อให้พอดีกับส่วนประกอบของสารผสม สำหรับสารที่มีจุดเดือดต่ำ สามารถใส่สารหล่อเย็นลงในถาดระบายความร้อนได้
- รับประกันการทำแห้งตัวอย่างปริมาณน้อยอย่างนุ่มนวลและมีประสิทธิภาพที่อุณหภูมิสูงถึง 300 °C สำหรับตัวอย่างที่ไวต่อความร้อน ก็สามารถทำแห้งภายใต้สุญญากาศได้เพื่อรักษาความสมบูรณ์และคุณภาพของสารที่เปราะบางไว้
- ตัวอย่างบางชนิดอาจก่อชั้นแข็งที่บริเวณพื้นผิว ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาในการทำแห้งเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้ ให้ใช้ขวดฟลาส์กสำหรับทำแห้งแบบหมุนเพื่อคงตัวอย่างให้อยู่ในสภาพที่ถูกหมุนอย่างต่อเนื่อง
- การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งเหมาะสำหรับการรักษาความสมบูรณ์ของตัวอย่างไว้ โดยกระบวนการนี้จะมีการแช่เยือกแข็งสารละลายก่อน จากนั้นลดความดันลงเพื่อทำการระเหิดน้ำแข็งออกไป หากต้องการใช้วิธีนี้ ให้เพิ่มอุปกรณ์เสริมสำหรับการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง
- การระเหิดเป็นการเปลี่ยนสถานะของสารโดยตรงจากของแข็งไปเป็นแก๊สโดยลัดขั้นตอนที่เป็นวัฏภาคของเหลวไป ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีความบริสุทธิ์มากเป็นพิเศษโดยไม่ต้องใช้ตัวทำละลายเพิ่มเติม หากต้องการใช้วิธีนี้ ให้เพิ่มอุปกรณ์เสริมสำหรับการทำระเหิด
Compare the Glass Oven G-300 (เครื่องอบแห้งและกลั่นแยกแบบลำดับส่วน)
อะไหล่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ดาวน์โหลด
- Operation Manual Glass Oven G-300 th(pdf)
- Technical Data Sheet Glass Oven G-300(pdf)
- Product Brochure Glass Oven G-300 th(pdf)
เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
การนำมาประยุกต์ใช้งาน
โดดเด่นด้วยความรู้จากผู้เชี่ยวชาญยาวนานหลายทศวรรษ
เคมีภัณฑ์
งานประจำวันทั่วไปในด้านการ ควบคุมคุณภาพไปจนถึงการ วิจัยและพัฒนาในห้องปฏิบัติ การ:การทำให้สารละลายเข้มข้นปฏิกิริยารีฟลักซ์การตกผลึกซ้ำการระเหิด
การวิเคราะห์ด้านสิ่ง แวดล้อม (Laboratory Evaporation)
การเตรียมตัวอย่างเพื่อตรวจ หามลพิษทางสิ่งแวดล้อม:การสกัดแบบ Soxhletการทำให้สารละลายเข้มข้น
ด้านวิชาการ/การศึกษา
สำหรับการใช้งานที่หลาก หลายในการศึกษาด้าน วิชาการ:การระเหยสารทุกรูปแบบ
เภสัชกรรม
แอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการควบคุมคุณภาพ รวมถึง การพัฒนาสูตรในระดับห้อง ปฏิบัติการของฝ่ายวิจัยและ พัฒนา:การกลั่นการทำให้สารละลายเข้มข้นการทำแห้ง
อาหาร/เครื่องดื่ม
การควบคุมคุณภาพใน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่อง ดื่ม รวมถึงการพัฒนาส่วนผสม และสารประกอบใหม่ๆ: การกลั่นการทำให้สารละลายเข้มข้นการทำแห้ง
อาหารสัตว์
การควบคุมคุณภาพใน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ รวม ถึงการพัฒนาส่วนผสมและสาร ประกอบใหม่ๆ:การกลั่นการทำให้สารละลายเข้มข้นการทำแห้ง